ทำไมผู้นำต้องสื่อสารเก่ง?
มีงานวิจัยจากหลายสถาบันยืนยันตรงกันว่า ความไม่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารของผู้นำ ทำให้องค์กรเสียหายได้อย่างมากมายมหาศาล เรียกได้ว่า สื่อไม่ดี เละทั้งองค์กร !
ปัญหาด้านการสื่อสารส่วนใหญ่ที่มักพบเจอคือ หัวหน้าบางคนสื่อสารน้อยเกินไป ทำให้พนักงานไม่เข้าใจ บางคนสื่อสารมากเกินไป ทำให้เกิดความสับสน ส่วนบางคนสื่อสารผิดพลาด ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
วันนี้ขอแนะนำแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสาร 5 ประการ
1. สื่อสารอย่างมีพลังและมั่นใจ – ลองนึกภาพดู ถ้าผู้บริหารขึ้นเวทีพูดให้พนักงานฟังแบบไม่มั่นใจ ผู้ฟังก็คงลังเลสงสัยว่าคำที่พูดมาจะเชื่อได้ไหม หรือถ้าสตีฟ จ็อบส์ ขึ้นเวทีเปิดตัวสินค้าใหม่แบบไม่มั่นใจ ลูกค้าคงไม่สนใจ และสินค้าของ Apple ก็คงไม่ขายดีแบบถล่มทลายเฉกเช่นทุกวันนี้
2. ส่งเสริมการสื่อสารแบบ 2 ทาง – สถิติพบว่าคนทั่วไปอดทนฟังการสื่อสารแบบทางเดียวได้ไม่เกิน 15 นาที ดังนั้นการสื่อสารที่ดีจึงควรเป็นการสื่อสารแบบสนทนา โต้ตอบกันไปมา เหมือนพูดคุยกัน ผู้นำต้องเรียนรู้วิธีการกระตุ้นให้พนักงานพูดและแสดงความคิดเห็น โดยเน้นการตั้งคำถามแทนการให้คำแนะนำหรือคำตอบ
3. สื่อสารเป้าหมายและความรับผิดชอบให้ชัดเจน – ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำทั่วโลกกว่า 56% เห็นว่าการสื่อสารเป้าหมาย ความต้องการและหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้ชัดเจนเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้นำ เพราะนอกจากทุกคนจะเข้าใจและเดินไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ยังเป็นการสร้างพลังและแรงจูงใจให้กับทีมงานได้อีกด้วย
4. สร้างพื้นที่ปลอดภัย – ผู้บริหารต้องทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยและสบายใจที่จะสื่อสาร & แสดงความคิดเห็น ดังนั้น การฟังไม่จบ พูดตำหนิ ดุ ว่า หรือตัดสิน (เช่น คุณพูดแบบนี้แสดงว่าทัศนคติไม่ดี เป็นต้น) เป็นการบั่นทอนจิตใจของคนทำงาน หัวหน้าควรรับฟัง ชื่นชมความกล้าแสดงออก และให้กำลังใจมากกว่า
5. ใช้การเล่าเรื่องช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการสื่อสาร – เชื่อไหมว่าไม่มีใครชอบฟังอะไรนานๆ การพูดถึงเนื้อหา สาระ หรือหลักการนานเกิน 10-15 นาที มักไม่มีคนฟัง แต่เรื่องเล่า (Story) และการเล่าเรื่อง (Storytelling) จะช่วยดึงความสนใจของคนฟังให้นานขึ้นได้
จะเห็นได้ว่า ทักษะในการสื่อสารสำคัญมากสำหรับผู้นำ เพราะนอกจากจะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ตรงกันแล้ว ยังช่วยในการบริหารคน ขับเคลื่อนองค์กร และแก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้อีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อ 5 ที่ทางนิตยสาร Havard Business Review เลือกทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling) ให้เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับผู้นำยุคนี้ แล้วทำไม “การเล่าเรื่อง” ถึงเป็นทักษะที่จำเป็น ?
สลิงชอท กรุ๊ป ได้ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องในเรื่องนี้กับการที่ได้ทำงานกับผู้บริหารทุกระดับของประเทศไทย พบว่า การเล่าเรื่องมีประโยชน์หลายอย่างในบริบทของการทำงาน อาทิ …
Story คือ เรื่องเล่าต้องมีคุณลักษณะของเรื่องที่ดี และคุณต้องมีเทคนิคการหาเรื่อง ลำดับเรื่องราว ร้อยเรียงความคิด และเก็บรวบรวมและสร้างคลังเรื่องเล่า เป็นต้น
และจุดเด่นสำคัญของหลักสูตร “Storify Your Thoughts For Business Impact” คือ
-
เน้นผลลัพธ์ทางธุรกิจ: หลักสูตรนี้มุ่งเน้นไปที่การใช้การเล่าเรื่องเป็นเครื่องมือในการสร้างผลกระทบทางธุรกิจ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการนำและการสื่อสาร การโน้มน้าวจูงใจและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมและผู้มีส่วนได้เสีย
-
Storify Canvas: เรามีเครื่องมือที่เรียกว่า “Storify Canvas” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการจัดระเบียบความคิดและสร้างเรื่องราวที่มีผลกระทบ โดยเครื่องมือนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้งานได้จริงในการทำงานและการดำเนินธุรกิจ
-
หลักการที่มีประโยชน์ทันที: หลักสูตรนี้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจและทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ทันทีในสถานการณ์การทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดระเบียบความคิด หรือการนำเสนอในสถานการณ์ต่างๆ
https://www.slingshot.co.th/course/storify-your-thoughts-for-business-impact
