Working with Values

Dr Tan, I figured it out!” โมลานี่ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของบริษัทยาระดับโลกบอกผมอย่างลิงโลด ก่อนที่เธอจะนั่งลงด้วยซ้ำไป

Good afternoon to you, too” ผมตอบยิ้ม ๆ

เจ้าตัวชะงักนิดหนึ่งก่อนยิ้มบ้างอย่างเขิน ๆ Sorry, I was too excited” ขอโทษค่ะ ฉันตื่นเต้นไปหน่อยจนลืมทักทายคุณ

ครึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น ผู้บริหารท่านนี้เล่าความสำเร็จในการทำงานกับซีอีโอ เจ้านายของเธอ My relationship with him has never been better. He listens to me now when I make suggestions. He even defends me in meetings.” ตอนนี้ความสัมพันธ์ด้านงานของเราเป็นไปได้ดีสุด ๆ เขารับฟังเวลาฉันนำเสนอไอเดีย กระทั่งปกป้องฉันระหว่างประชุมกับแผนกอื่น มันยอดไปเลย ฉันไม่เคยคิดว่าจะมีวันนี้ได้ I never thought it would happen

คุณผู้อ่านคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “People join organization but leave their boss” คนสมัครงานเพราะอยากจอยบริษัท แต่ลาออกเพราะอยากจากหัวหน้า”

Research ของ Iclif ด้วยข้อมูลจาก 28 ประเทศบอกว่า ประโยคนี้จริงแต่ไม่จริงทั้งหมด 75% of employees stay or leave based on their intrinsic motivation – which is closely tied to value systems พนักงานอยากจากหัวหน้าไม่ใช่เพราะตัวหัวหน้า แต่เพราะ Values ที่ขัดกันต่างหาก

ก่อนจะลงรายละเอียด ผมขอให้ทุกท่านวาดภาพตามในหัวสักนิด นึกถึงวงกลมสองวงที่มีบางส่วนทับซ้อนกัน วงหนึ่งเขียนชื่อคุณลงไป ส่วนอีกวงเขียนชื่อคนที่ต้องทำงานด้วย

ซึ่งในกรณีของโมลานี่คือ ตัวเองกับหัวหน้า

ข้อคิดสำหรับผู้นำสมอง

  1. Area to Avoid บริเวณแรกคือ Values ของผู้อื่นที่เราต้องระวัง นั่นคือส่วนของวงกลมของหัวหน้าที่ไม่ซ้อนทับกับโมลานี่ จากการบ้านที่ผมให้ เธอพบว่าสิ่งที่หัวหน้าให้ความสำคัญคือ Authority เขาเป็นชาวต่างประเทศที่ทำงานบนขั้นตอน ไอเดียต้องลำดับขึ้นมาตามชั้น ผู้บังคับบัญชารู้ดีกว่าลูกน้อง ต้องเป็นผู้ตัดสินใจและรับผิดชอบผลลัพธ์ของงาน ส่วนตัวโมลานี่เองไม่ได้ให้ความสำคัญกับตรงนี้ มันไม่ใช่ Value ของเธอ ดังนั้นหลายครั้งเธอจึงเผลอ ‘เหยียบ’ บริเวณนี้ของหัวหน้าโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ที่ผ่านมาพอมีไอเดีย เธอจะนำเสนอโดยไม่เกรงใจใคร แล้วก็กระฟัดกระเฟียดเวลาหัวหน้าไม่รับฟัง หรือบอกว่าความคิดของเธอใช้ไม่ได้ หลังจาก Coaching sessions สามครั้งผ่านไป เธอเริ่มเข้าใจแล้วว่า Value ของหัวหน้าคืออะไร และมีวิธีที่ดีขึ้นในการนำเสนองาน
  2. Area to Aware เรียนตรง ๆว่ากรณีโมลานี่นั้น ผมเคยถอดใจไปแล้วว่าคงโค้ชไม่ขึ้น เพราะเธอค่อนข้างดื้อ มีความคิดเป็นของตนเอง พูดตรง ๆคือมี Ego สูงและ EQ ค่อนข้างน้อย ไฮไลท์คือการทะเลาะกับหัวหน้าต่อหน้าผมเลย โดยเธอยืนหยัดในวิธีคิดแบบของเธอ ยอมหักไม่ยอมงอ จนฝั่งซีอีโอเสียอีกต้องเป็นฝ่ายตัดบทก่อนออกจากห้องไป ผมอธิบายให้เธอฟังว่า Area to Aware หมายถึงวงกลมส่วนที่เป็นของเราแต่ไม่ทับซ้อนกับหัวหน้า มันหมายถึง Value ที่เราให้ความสำคัญแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยฝ่ายอื่นไม่ได้แชร์ร่วมด้วย สำหรับโมลานี่ Value นี้คือ Accuracy เธอรักความถูกต้องของข้อมูล ดังนั้นเมื่อใดที่ต้องมีการ Compromise อารมณ์จะขึ้นปรี๊ด ในจุดนี้แบบฝึกหัดของเธอคือการ ‘รับรู้แต่ไม่ต้องแสดงออก’ เธอเล่าว่าตอนนี้เวลาเจอสถานการณ์ลักษณะดังกล่าว เธอจะหายใจลึก ๆแล้วบอกตัวเองว่า It’s okay. This is my value, not theirs ช่วยให้ไม่ระเบิดใส่เหตุการณ์ตรงหน้าเหมือนเมื่อก่อน เมื่อสติมาแล้วปัญญาจะมี
  3. Area to Amplify โซนนี้เป็นขั้นแอดวานซ์ หมายถึงบริเวณที่ทับซ้อนกันระหว่างโมลานี่และหัวหน้า วิธีการคือพิจารณาว่าเราจะสามารถใช้ Value ร่วมให้เกิดผลลัพธ์แบบทวีคูณได้อย่างไร โมลานี่กำลังพยายามตรงจุดนี้อยู่ โจทย์ของเธอคือเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งซึ่งทำงานกับใครไม่ได้เลย อาละวาดฟาดหัวฟาดหางใส่ทุกคนไม่ว่าภายในภายนอก บ้าอำนาจ วางตัวเหนือผู้อื่น และไร้เหตุลในการทำงาน ช่วงแรกของบทสนทนา โมลานี่คุยถึงคน ๆนี้ในแง่ลบตลอด เธอบอกว่าใช้ไม้แข็งก็แล้วไม้อ่อนก็แล้ว It’s impossible to work with him การบ้านที่ผมให้เธอคือการลองหา Value ของเพื่อนให้เจอ เพื่อดูว่ามี Area to Amplify ตรงไหนบ้าง แล้วลองใช้จุดเหล่านั้นในการเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส

“Just imagine, if you can figure out how to work with someone who no one can work with, how awesome would you look to your boss?” ผมกล่าวกับเธอ

“จริงด้วย งั้นรอก่อนนะคะโค้ช ครั้งหน้าจะกลับมารายงานค่ะ” โมลานี่ตอบ

Ready to start your Leadership Journey?