ทำไมยุคนี้ต้อง Wellness Culture

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมปาฐกถาพิเศษในงานThailand HR Day 2019 ซึ่งจัดโดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย โดยท่านเล่าถึงมุมมองการพัฒนาองค์กร บุคลากร และประเทศ จากแต่เดิมได้เปลี่ยนไปจาก Modernism ไปเป็นแบบ Sustainism เราต้องการความยั่งยืนมากกว่าคำนึงถึงเพียงแค่การเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

ท่านเล่าว่าโลกยุคใหม่ที่เน้นด้านความยั่งยืนต้องหันมาสร้างสมดุลของทุกส่วน 4 ด้าน

  1. Economic Wealth
  2. Social Well-being
  3. Human Wisdom
  4. Environment Wellness

 

 

โลกและเราต้องการความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน

 

GDP ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจจนมี GDP สูง แต่ดัชนีความสุข กลับเดินสวนทาง

 

องค์กรก็เช่นกัน ต้องการทั้งการเติบโตมั่นคงทางตัวเลขและความสุขของคนในองค์กร องค์กรขับเคลื่อนด้วยคน คนที่มีความเป็นอยู่ดีมีสุข ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสมดุลต่อทุกส่วนจะช่วยสร้างความยั่งยืนที่แท้จริง องค์กรต้องการมีวัฒนธรรมของความมั่นคงสมดุลยั่งยืน ที่ขอเรียกว่า ‘wellness culture’

 

หากเราถามบริษัทต่าง ๆ ว่ามีทำอะไรที่สร้าง wellness culture ในองค์กรบ้าง หลายที่มักจะเริ่มทำอะไรบางอย่าง แต่คำตอบที่มักจะได้คือ เราจัดออกกำลังกาย เดิน วิ่ง มีฟิตเนส ตีแบต หรือแม้กระทั่งจัดคนมานวดถึงที่ทำงานเลย และกิจกรรมการนวดมักจะได้รับความสนใจมากกว่ากิจกรรมที่ต้องขยับร่างกายอีก มีลูกค้าเล่าให้ฟังว่า จัดปั่นจักรยาน ประกาศ เชิญชวนไปทุกทิศทาง แต่สุดท้ายมี HR มาปั่นกันเอง 2 คน

 

นี่มันใช่ wellness culture หรือเปล่า?

 

คำตอบคือ ‘ไม่ใช่’

 

Culture of Wellness ในที่ทำงานคือกระบวนการปลูกฝังนิสัยในการดูแลสุขภาพ ความสุข ความมีพลังในการทำงาน หากเราเน้นจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว เราอาจไม่ได้ผลลัพธ์แบบที่เราอยากเห็น

 

แต่อย่ารู้สึกแย่ —— เพราะยังดีกว่าไม่ทำอะไร

 

ระบบการศึกษา ทำให้เราเชื่อว่า เมื่อคนมีความรู้ มีข้อมูล เขามักจะเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าเราสอนเด็ก ๆ  ว่าบุหรี่ไม่ดี สุดท้ายเด็กจะไม่สูบบุหรี่ ซึ่งไม่ค่อยจริง การปลูกฝังวัฒนธรรมและสร้างสิ่งแวดล้อมและสังคมมีผลต่อพฤติกรรมมากกว่า  เด็กที่เกิดในครอบครัวที่สูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มจะสูบบุหรี่ แม้เคยได้เรียนเรื่องภัยของบุหรี่มาแล้วก็ตาม

 

การขับรถแล้วรัดเข็มขัดเป็นสิ่งที่ควรทำ และต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ แต่วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน ต้องเริ่มจากจิตสำนึก หรือการเกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญก่อน (awareness) และการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ถึงข้อดีของการรัดเข็มขัด ก็ไม่อาจไม่ได้ช่วยมากนัก ความรู้ขัดต่อสมองส่วนอารมณ์ของมนุษย์ การให้เพียงข้อมูลผ่านกิจกรรม ก็ไม่อาจสร้างนิสัยที่ยั่งยืนได้

 

คนเราชอบทำอะไรตามใจ ตามความเคยชิน ทุกคนรู้ว่าบุหรี่อันตราย แต่คนก็ยังสูบ เรารู้ว่าออกกำลังกายสม่ำเสมอนั้นดี แต่เราก็ไม่ค่อยทำ

 

ในเดือนเมษายน ปี 2560 Jon Corzine เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งขณะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์วันนั้น เขาถูกนำส่งโรงพยาบาลแบบกระดูกหักหลายส่วน และต้องใช้เครื่องช่วยชีวิตมากมายก็จะรอดมาได้ เขาไม่ได้รัดเข็มขัด แต่ไม่ใช่แค่วันนี้ เขาไม่รัดเข็มขัดมาโดยตลอด แม้ตำรวจจะเคยขอร้องเขาแล้วก็ตาม วันนั้นเขาดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูงของรัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา และก่อนหน้านี้เคยเป็นวุฒิสมาชิก และเคยเป็นกระทั่ง CEO ของ Goldman Sachs ซึ่งแน่นอนเขาต้องไม่โง่ และคนทั้งโลกรู้ว่าการรัดเข็มขัดสามารถช่วยชีวิตได้ แต่ทำไมเขายังไม่ทำ

 

หลายครั้งผู้บริหารในองค์กรก็ยังไม่แน่ใจว่าทำไปทำไม และหลายครั้งผู้นำในองค์กรก็ไม่ได้มามีส่วนร่วม มักปล่อยให้หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบ สุดท้ายความพยายามในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะค่อยๆ จากหายไปโดยไม่เห็นผลลัพธ์ใด ๆ เกิดขึ้น

 

การสร้าง Wellness Culture เพื่อบ่มนิสัยนี้ให้ยั่งยืน จึงต้องเริ่มจากผู้นำ ผ่านกระบวนการ ผ่านประสบการณ์ เพื่อให้ผู้นำเป็นต้นแบบของการสร้างสมดุลที่ยั่งยืนนี้ให้เกิดในองค์กร หากผู้นำเป็นต้นแบบวัฒนธรรมนี้จะค่อยๆ ฝังรากลึก จากรุ่นสู่รุ่น

 

#LeadingWell ผู้นำต้นแบบในการสร้าง Wellness Culture

Ready to start your Leadership Journey?