The Trust Equation

“To be honest Dr. Thun, there is a lack of trust within our organization. It is one of the biggest organizational challenges we have currently”

“พูดตรงๆนะ ดร. ธัญ เรามีปัญหาด้านความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน ตอนนี้ผมว่ามันเป็นปัญหาหลักของการทำงานในองค์กรของเราเลยล่ะ” ผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่งกล่าวกับผม หลังจากเราคุยกันมาประมาณครึ่งชั่วโมง

     ปัญหาเรื่อง Trust ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ผมรู้สึกว่าหลังๆ มานี่จะได้ยินเรื่องนี้หนาหูเหลือเกิน ไม่เฉพาะผู้นำท่านนี้เท่านั้น จะเข้าไปในองค์กรไหนๆ ยุคโควิดนี่ Lack of Trust กลายเป็นคำติดปาก  แล้วจะว่ามันเป็นเรื่องเล็กที่ไม่ต้องคำนึงถึงก็ไม่ได้ หลายๆ แห่งเริ่มได้รับผลกระทบของ The Great Resignation คนพากันไม่กลับไปทำงานหลัง Work From Home กันมาเป็นปี ผนวกกับเจ้า Omicron และการกักตัวพนักงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยง องค์กรมากมายถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้เพราะคนไม่พอ

     ผมอยู่อเมริกาช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ตอน Omicron ระบาดหนัก ไฟล์ทต่างๆถูกยกเลิกไปหลายพันเที่ยวบิน เพราะนักบินและลูกเรือต้องกักตัว โรงพยาบาลหลายแห่งต้องงดรับผู้ป่วย เป็นเทรนด์ซึ่งน่าเป็นห่วงในแง่การบริหารจัดการองค์กร  อีกหนึ่งเทรนด์ที่เกี่ยวข้อง คือการทำงานข้ามประเทศแบบ Virtual หลายคนลาออกจากงานเดิมเพราะอยากหยุดพัก แต่มีไม่น้อยที่ลาออกเพราะได้โอกาสใหม่ซึ่งไม่เคยมีก่อนโควิด นั่นคือการทำงานระหว่างประเทศโดยไม่ต้องย้ายประเทศ  เช่น กลางปีนี้ผมกลับไปอยู่เมืองไทย ผมยังสามารถทำหน้าที่ที่ทำอยู่กับ ASB และ MIT ต่อไปได้ผ่าน Zoom แบบ Virtual

      ฉะนั้น องค์กรใดที่บริหารความเสี่ยงตรงนี้ได้ไม่ดี องค์กรใดที่ไม่ดูแลพนักงาน ไม่สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่น่ารักน่าอยู่ คงรับมือกับพายุเหล่านี้ได้ไม่ดีนัก

“แล้วเราทำอะไรได้บ้าง? What can we do about it?” โค้ชชี่ของผมถาม

 Unfortunately, trust is not a quick fix เราไม่สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจขึ้นมาได้ชั่วข้ามคืน” ผมตอบ “However, we do know The Trust Equation (David Maister) เราสามารถเริ่มได้ด้วยการพิจารณา สมการแห่งความเชื่อใจ”

Trust = (Credibility + Reliability + Intimacy) / Self-Orientation

ข้อคิดของผู้นำสมอง

1.Credibility หมายถึงความน่าเชื่อถือของตัวผู้นำ เป็นเรื่องของสมองส่วนหน้า เช่น ความรู้ ประสบการณ์ ผลงานที่ผ่านมา ยกตัวอย่างง่ายๆ คือการเข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชาติไทยของคุณแป้ง นวลพรรณ ล่ำซำ เธอเป็นที่รู้จักดีในสังคม เป็นนักบริหารของบริษัทชั้นนำ มีผลงานการทำทีม ทั้งทีมชาติหญิงและสโมสร สร้าง Credibility ที่คนยินดีให้โอกาส

2.Reliability หมายถึงการทำตามที่พูด Walk the talk กล่าวอย่างไรก็ต้องทำอย่างนั้นจริงๆ คุณแป้งบอกว่าอยากเข้ามากอบกู้ศรัทธาแฟนบอลไทย และจะทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกคนทำงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเราได้เห็นในช่องทางสื่อต่างๆ ว่า เธอดูแลเอาใจใส่นักกีฬา ให้เวลากับทีมเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นค่ายเก็บตัว ช่วงซ้อม ช่วงพัก อาหารการกิน ทำให้เรารับรู้ได้ว่า เออ.. คนๆ นี้พูดจริงทำจริง

3.Intimacy หมายถึงความผูกพันทางใจ อันนี้เป็นสมองส่วนหลังล้วนๆ มันคือการปฏิบัติตนของผู้บริหารเมื่อประสบกับสถานการณ์ยากลำบาก เรียกว่ามีทุกข์ร่วมทุกข์ ไม่ใช่ตักตวงแต่ช่วงความสุขอย่างเดียว เช่น กรณีที่ บอย ฉัตรชัย บุตรพรหม ผู้รักษาประตูทีมชาติเจ็บหนักจากการปะทะในเกม เราได้เห็นคุณแป้งเข้าไปให้กำลังใจ ปลอบใจ ร่วมเสียอกเสียใจกับเจ้าตัว ไม่ใช่แค่ยินดีกับผลชนะของทีมเพียงอย่างเดียว

4.Self-Orientation ตัวนี้เป็นปัจจัยหาร แปลว่าสามข้อที่ทำมาข้างต้นนั้นไม่มีความหมายเลยหากมันถูกบั่นทอนต้วยข้อสุดท้ายนี้ ศัตรูของศรัทธาคือความเห็นแก่ตัว ความคำนึงถึงแต่ตัว ความเอาประโยชน์เข้าตนเองของผู้นำ เราจะไว้เนื้อเชื่อใจใครเราต้องรู้สึกว่าคนๆ นั้นไม่เอาแต่ตัวเองเป็นที่ตั้ง ตอนทีมไทยขึ้นรับถ้วย AFF Suzuki Cup คุณแป้งพยายามหลบๆ ไปอยู่ข้างๆ บ้าง ไปอยู่ข้างหลังบ้าง ปล่อยให้นักกีฬาและโค้ชได้ฉลองชัยชนะกันอย่างเต็มที่ กระทั่งมีคนเหลือบไปเห็นและคะยั้นคะยอให้เธอออกมาด้านหน้า จึงได้เห็นภาพที่มีคุณแป้งร่วมแสดงความสำเร็จอยู่ในนั้น

So if you are dealing with a trust issue in your organization, I would say let’s take a look at which of these factors is the main culprit – and go from there” ผมสรุป

“I think I know already which one. Thank you so much Dr. Thun” เจ้าตัวกล่าวอย่างพอใจ

 

ศรัทธาสร้างได้ครับ!

 

 

Ready to start your Leadership Journey?