บริหารความ "ย้อนแย้ง"

 

“อยากไปแต่ก็กลัว” “อยาก empathy แต่ก็ต้องเอาผลลัพธ์” เชื่อว่าหลายคนคงเคยผ่านอาการ “ย้อนแย้ง” คิดย้อนไปแย้งมาในตัวเอง ในภาษาอังกฤษเรียกว่า ​paradox  

ความย้อนแย้งจนก่อให้เกิดความตึงเครียดเหล่านี้เกิดขึ้นในทุกแง่มุมของชีวิตและองค์กร องค์กรทุกวันนี้อยู่ใน​สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ผันผวนและเปราะบางมาก ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ส่งผลต่อความตึงเครียดที่กำลังดำเนินอยู่และดูเหมือนล้นหลามจนยากที่จะเข้าใจ อีกทั้งการจัดการทางเลือกต่าง ๆ ทำได้ยากกว่าเมื่อก่อนมาก อาทิ

ในแง่ของผู้นำองค์กร – ต้องควบคุมแต่ก็ต้อง empower  

ในแง่การทำงานเป็นทีม – ต้องให้ได้ทั้งผลลัพธ์แต่ก็ต้องได้ความสัมพันธ์ที่ดี

ในแง่กลยุทธ์ – ต้องแข่งขันแต่ก็ต้องจับมือกับคู่แข่ง  

ในแง่โครงสร้างองค์กร –  ต้องรวมศูนย์แต่ก็ต้องกระจายอำนาจ  

ในแง่เป้าหมาย – ต้องบรรลุเป้าหมายระยะสั้นแต่ต้องเน้นความยั่งยืน

ทางเลือกที่ “ย้อนแย้ง” เหล่านี้ สร้างความตึงเครียดให้ผู้เกี่ยวข้องในองค์กร เพราะมันไม่ใช่การตัดสินใจว่าจะเลือกทางใดทางหนึ่ง หรือเลือกวิธีแก้ปัญหาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงทางเดียวเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

Center for Creative Leadership ทำการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารความย้อนแย้ง ซึ่งผลการวิจัยพบว่า องค์กร ผู้นำ ทีม และบุคลากรที่สามารถบริหารความย้อนแย้งที่เกิดในทุกเมื่อเชื่อวันได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์ทางธุรกิจที่สำคัญในโลกอนาคต 


เพราะ “ย้อนแย้ง” ​ไม่ใช่ “ขัดแย้ง”

สองสิ่งที่อยู่บนคนละขั้ว บางส่วนสามารถเสริมกันได้ และหากองค์กรหาจุดที่มันเชื่อมโยงและส่งเสริมกันได้มากกว่าเห็นเฉพาะจุดที่มันขัดแย้งกัน สิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งนวัตกรรมในองค์กร กล่าวคือสามารถเข้าใจได้ว่า แม้แต่ความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ก็ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจ เช่น การหานวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์จากการผสมผสานระหว่างปรัชญาตะวันออกและตะวันตก

ประโยชน์ของการบริหารความย้อนแย้งในองค์กร

  1. เปลี่ยนความตึงเครียดเป็นโอกาส
  2. แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างในถูกรับรู้ในเชิงคุณค่า
  3. เปลี่ยนวิธีการจัดการปัญหาที่พึ่งพาเพียงคนไม่กี่คน ให้เป็นกระบวนการของกลุ่มที่มีแนวคิดต่างกัน
  4. ปรับกรอบการมองปัญหาขององค์กรแทนการชี้นิ้วไปที่ใครคนใดคนหนึ่ง ให้กลายเป็นส่วนเสริมและพึ่งพาอาศัยกันและกัน ซึ่งช่วยให้หลุดจากวงจรอุบาทว์มุ่งสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  5. เคารพความจริงที่ว่าองค์กรและผู้นำที่ประสบความสำเร็จต้องทำงานกับสองขั้วที่ต่างกัน

หากองค์กรองค์กรละเลยความสามารถในการบริหารผลประโยชน์ที่แข่งขันกันอยู่ในใจ จะมีความเสี่ยงในการละสายตาจากปัญญาที่อยู่คู่กัน และจากคู่สองขั้วที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน

Ready to start your Leadership Journey?