Innovation Made Easy

ซีอีโอบอกผมว่า ปัจจัยที่ทำให้เขาตัดสินใจเลือกผมให้ข้ามประเทศมาร่วมทีมคือ You can create content คุณสามารถสร้างเนื้อหาเป็นของตัวเอง And you are not afraid to try และคุณไม่กลัวที่จะลองผิดลองถูก ลำพังแค่สอนเก่ง พูดอังกฤษได้ และหน้าตาดี (อันนี้ผมเติมเอง) ไม่พอหรอก

 

หลายคนถาม อยากเป็นเจ้าของ Content บ้างต้องทำอย่างไร? คำตอบง่าย ๆ คือ ต้องขยันคิด

เทคนิกการสร้างเนื้อหาคือ ต้องหมั่นมองสิ่งต่าง ๆ  รอบตัว แล้วตั้งคำถาม เช่น ทุกคนบอกว่า Innovation สำคัญอย่างนั้นอย่างนี้ แต่น้อยองค์กรจะพูดได้อย่างเต็มปากว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นนวัตกร  

 

ผมเพิ่งไปเยี่ยมองค์กรระดับสากลแห่งหนึ่ง ระดับผู้จัดการยังบอกว่า “แค่ทำงานไปวันๆ  ก็เหนื่อยจะแย่แล้ว จะให้คิดอะไรอีกนักหนา”

 

นี่ขนาดองค์กรระดับโลกนะ คนยังคิดอย่างนี้ นับประสาอะไรกับองค์กรขนาดย่อยๆ รองๆ  ลงมา

จากข้อสังเกต ไปสู่คำถาม ไปสู่สมมติฐาน “เป็นไปได้ไหมว่าสาเหตุที่คนไม่อยาก innovate เพราะเราทำเรื่อง innovation ให้เป็นเรื่องยาก”

 

ผู้เขียน Blog innovationinpractice.com บอกว่า “องค์กรมักทำให้นวัตกรรมดูเป็นสูตรลับที่ต้องค้นหาและปลดปล่อย a mystique about innovation and creativity as though it is a deeply hidden secret that needs to be unleased.

 

หากเราลองคิดใหม่ล่ะ คิดว่า Innovation เป็นเรื่องง่าย เหมือนร้าน Daiso (หรือ Donqui ที่เพิ่งเปิดหมาดๆ)

จากตรงนี้เราก็ต่อยอดไปได้อีกไกล ลองดู 10 ข้อคิดของหลักสูตร Innovation Inside-Out นะครับ

 

  1. Innovation Technology แม้สองสิ่งนี้เกี่ยวกัน แต่นวัตกรรมไม่ใช่เทคโนโลยี แม่บ้านธรรมดาๆทีมหนึ่งสามารถคิดวิธีลดใช้จำนวนช้อนกาแฟได้ ประหยัดทั้งน้ำล้าง ประหยัดทั้งการจัดซื้อ
  2. Innovation Process การสร้างนวัตกรรมไม่ใช่กระบวนการแต่คือความหมั่นคิดและหมั่นทำ เช่น Kaizen ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นระบบ จริงๆมันคือการสร้างนิสัยให้ทุกคนช่วยกันคิดช่วยกันทำได้ต่างหา
  3. Innovation Big Idea หลายองค์กรมักทำนวัตกรรมให้เป็นเรื่องใหญ่ จัดประกวดแข่งขันหาทีมที่ชนะ แม้ตัวช่วยเหล่านี้ทำให้การผลักดันด้าน Innovation ดูเป็นรูปธรรมก็จริง แต่มีเพียงคนส่วนน้อยที่เข้าร่วม และบางครั้งทำให้ทีมที่ไม่ชนะเสียกำลังใจ
  4. Innovation Me เราให้ความสำคัญกับคนที่ ‘คิดได้’ จนแรงกดดันตกอยู่กับพนักงานในการสร้างนวัตกรรม จนกลายเป็นแรงต้านซึ่งทำให้พนักงานไม่อยากเป็นนวัตกร ลองไปดูสิครับ หลักสูตรนวัตกรรมในองค์กรมีคนอยากลงเรียนกี่คน ไม่ใช่เพราะไม่สนใจ แต่กลัวว่าถ้าเรียนแล้วเดี๋ยวกลับมา ‘ต้องทำ’
  5. Innovation Big Idea หลายองค์กรมักทำนวัตกรรมให้เป็นเรื่องใหญ่ จัดประกวดแข่งขันหาทีมที่ชนะ ตัวช่วยเหล่านี้ทำให้เรื่องการผลักดันด้าน Innovation ดูเป็นรูปธรรมก็จริง แต่มันสร้างได้แค่คนส่วนน้อยที่เข้าร่วม และบางครั้งทำให้ทีมที่ไม่ได้ชนะเสียกำลังใจ
  6. Innovation Die นวัตกรรมบนความหวังดีกว่านวัตกรรมบนความตระหนก จริงอยู่สัญชาติญาณการเอาตัวรอดอาจทำให้สมองตื่นตัว แต่มันเป็นการกระตุ้นแค่ชั่วคราว สมองที่สร้างสรรค์ทำงานได้ดีบนความรู้สึกบวก งั้นหากขู่แล้วไม่ได้ผลลองใช้ความหวังดูบ้างไหม
  7. Innovation Invent การคิดค้นของใหม่ไม่ใช่วิธีเดียวสู่นวัตกรรม ในยุค 0 แบบ Open Source เรามีทรัพยากรมากมายอยู่แล้วที่รอการปะติดปะต่อ ลองคิดเชิงประยุกต์แทนการคิดเชิงประดิษฐ์ มีอะไรอยู่แล้วบ้างที่นำมาผสมกันได้ให้เกิดคุณค่าใหม่
  8. Innovation Talent ความเชื่อผิดๆคือนวัตกรรมถูกผูกให้อยู่กับความเก่ง คนฉลาดๆเท่านั้นจึงจะคิดสิ่งใหม่ได้ มันอาจจะจริงอยู่บ้าง แต่ในยุคปัจจุบันที่คนเก่งหายากและอยู่ไม่ทน ลองเปลี่ยนวิธีมาสร้างนวัตกรรมจากความคิดแทน ลงทุนกับการเฟ้นหาความคิดดีๆในองค์กรที่มาจากใครๆก็ได้
  9. Innovation Hardware เมื่อ 5 ปีที่แล้วผมเคยเลิกสอนหัวข้อนวัตกรรม เพราะรู้ว่าสำหรับคนทั่วไปอย่างเราๆท่านๆ การจะคิดค้นอะไรใหม่ๆเป็นเรื่องเกินตัว ตอนนี้กลับมาหามันอีกครั้งเพราะคิดว่าสิ่งแวดล้อมพร้อมแล้ว เหลือเพียง Heartware เท่านั้นที่รอการจุดประกาย
  10. Innovation Impossible นำ 9 ข้อนี้มาร้อยเรียงกัน เราจะเห็นว่าการ Innovate ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงรู้ทันเทคโนโลยี เปลี่ยนทัศนคติ ใส่ใจในเรื่องเล็กๆใกล้ๆตัว ช่วยคนอื่นต่อยอดไอเดีย โฟกัสที่ความคิดไม่ใช่บุคคล จงเชื่อว่า

 

เราสามารถมีส่วนร่วมสร้างนวัตกรรม เพื่ออนาคตใหม่ที่ดีขึ้น เท่านี้ก็เป็นไปได้แล้ว

ส่วนแบบฝึกหัดของคนอยากโกอินเตอร์ ลองหาทางสร้างคอนเทนต์ของตัวเองด้วยการสังเกต ตั้งสมมติฐาน หาข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้างมุมมองที่แตกต่างครับ

Ready to start your Leadership Journey?