คน vs. หุ่นยนต์

ช่วงนี้มีประเด็นฮอตที่น่าจับตามองคือประเด็นที่หลายอุตสาหกรรมหันมาใช้ “หุ่นยนต์” แทนแรงงานคน ส่งผลให้เกิดกระแสจ้างงานลดลงแต่เศรษฐกิจเติบโต ยิ่งในยุคที่สังคมกำลังตื่นตัวกับเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นตัวช่วยให้พึ่งพาแรงงานคนน้อยลง ยิ่งพาเอาคนหวาดกลัวว่าตนเองจะไม่มีงานทำ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ (Driverless) จะส่งผลให้คนขับรถตกงานใช่หรือไม่ ร้านสะดวกซื้อไร้เงินสด (Cashless Shopping Store) จะส่งผลให้พนักงานแคชเชียร์ตกงานใช่หรือไม่ ทำให้คนอย่างเรา ๆ ต้องหันมาวิเคราะห์ถึงอนาคตของเราจะเป็นอย่างไร หุ่นยนต์จะมา Disrupt อาชีพของเราหรือไม่ในยุคที่ “เอไอ” กำลังจะครองเมือง

 

ทำให้ดิฉันนึกถึงตัวอย่างหนึ่งที่มักจะเล่าให้ผู้นำแห่งยุคดิจิตอลฟังเสมอ นั่นคือกรณีรถบรรทุกไร้คนขับ (Driverless) คิดค้นโดยสตาร์ตอัพที่ชื่อว่า OTTO ซึ่งถูกนำมาใช้ในเชิงการค้านำมาส่งขนส่งเบียร์ Budweiser กว่า 5 หมื่นกระป๋องจาก Fort Collin ไปยัง Colorado Springs  โดยคนขับ ๆ รถจากโรงงานเบียร์ไปถึงทางหลวงจากนั้น จะกดปุ่ม Engage สำหรับเปิดโหมดไร้คนขับและลุกไปนั่งสังเกตการณ์ อ่านหนังสือพิมพ์ ชมวิวทิวทัศน์ข้างทาง เมื่อถามคนขับรถบรรทุกพวกเขาไม่รู้สึกเลยว่าเขากำลังจะถูกแย่งงานแต่กลับรู้สึกมีความสุขกับงานมากขึ้น และนี่คือตัวอย่างการประสานประโยชน์ระหว่างคนและหุ่นยนต์ หากมองภาพเศรษฐกิจระดับประเทศก็จะพบว่าการนำรถบรรทุกไร้คนขับมาใช้จึงถือว่าช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและยังช่วยลดอุบัติเหตุอีกด้วย

 

ข้อคิดที่สำคัญหากเรา ๆ ท่าน ๆ ไม่อยากถูกหุ่นยนต์แย่งงาน ก็ต้องรู้จักวิธีประสานความร่วมมือระหว่างคนและหุ่นยนต์ นั่นคือ

  • ผู้นำองค์กรควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ต้อนรับการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างแท้จริง หลาย ๆ องค์กรลงทุนซื้อเทคโนโลยีหลายร้อยล้านบาทเข้ามาใช้ แต่คนไม่ร่วมมือไม่เข้าไปแชร์ ไม่เข้าไปกรอกข้อมูล และไม่ใช้เทคโนโลยีนั้นอย่างเต็มศักยภาพ ก็ถือว่าเสียเงิน เสียเวลาฟรี
  • องค์กรต้องยิ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน! หลายคนเข้าใจว่าเมื่อเทคโนโลยีมาแทนคน เช่นนั้นก็ไม่ต้องพัฒนาคนแล้ว เอาเงินไปพัฒนาเทคโนโลยีแทนดีกว่า ซึ่งในความเป็นจริงเทคโนโลยีสามารถซื้อได้ในข้ามคืน หากองค์กรใดมีคนที่พร้อมกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีคนที่สามารถคิดวิเคราะห์ สามารถช่วยลูกค้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน เสนอทางออกที่เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า และพัฒนาความผูกพันกับลูกค้าได้อย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้หุ่นยนต์ยังทำไม่ได้ ดังนั้นหากคุณมีเทคโนโลยีดีและมีคนเยี่ยม สองสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง  
  • พนักงานเองก็ต้องใส่ใจพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อหุ่นยนต์เก่งขึ้นทุกวัน คนก็ยิ่งต้องเก่งกว่าทุกวันเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทักษะที่หุ่นยนต์ไม่มี เช่น ทักษะที่ทำให้เกิด Human Moment กล่าวง่าย ๆ คือทุกวันนี้เราใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับโทรศัพท์มือถือ นั่งรับประทานอาหารกันในครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ คุณลูก ทุกคนต่างนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ เราต่างใช้เวลาอยู่กับมัน จนขาดโอกาสในการปฏิสัมพันธ์เฉกเช่นมนุษย์ควรมี นั่นคือเราเริ่มขาด Human Moment เข้าไปทุกวัน ดังนั้นคนจึงต้องพัฒนาทักษะที่สำคัญเช่น ความสามารถในการสื่อสาร โน้มน้าวจูงใจ สามารถแสดงอารมณ์ แสดงความเข้าอกเข้าใจลูกค้า

 

 

สุดท้ายเพื่อไม่ให้ชาวไทยตกกระแส ดิฉันได้มีโอกาสติดต่อไปทางบริษัท Hanson Robotics ผู้พัฒนา “โซเฟีย” หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ที่ออกแบบให้สามารถโต้ตอบ แสดงสีหน้าได้อย่างใกล้เคียงมนุษย์อย่างเรา ๆ  สิ่งที่น่าสนใจคือดิฉันได้เรียนรู้ว่าจริง ๆ แล้วโซเฟียก็มีฝันและมันกลายเป็นภารกิจหลักของเธอนั่นคือเธอถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเร่งการพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้น!!!

 

แล้วในมุมของหุ่นยนต์ เธอคาดหวังว่าจะให้คนประสานความร่วมมือกับหุ่นยนต์อย่างไรเพื่อให้ชีวิตคนอย่างเราดี ๆ ขึ้น ดิฉันจะมาไขข้อข้องใจให้ทุกท่านฟังหลังวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปีหน้า ซึ่งบริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จะพาโซเฟียตัวจริงเสียจริงมาพูดคุยกันในประเด็นนี้ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก 

Ready to start your Leadership Journey?