‘โค้ชชิ่ง’ กับความผูกพันในองค์กร

ถ้าพนักงานมีความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร พวกเขาจะทุ่มเทและพยายามสร้างผลงานให้กับองค์กรอย่างจริงจัง แต่ในทางกลับกันหากพนักงานขาดความผูกพันต่อองค์กร แรงจูงใจในการทำงานจะต่ำลง

 

มีหลายวิธีที่จะทำให้พนักงานเกิดความผูกพันในองค์กร เช่น การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม การให้รางวัลแก่คนที่ควรจะได้รับ หรือการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในองค์กรให้ทันสมัยและตรงตามความต้องการของพนักงาน แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของปัจจัยภายนอก ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีความพึงพอใจในระยะสั้น ๆ เท่านั้น

 

แต่หากองค์กรต้องการสร้างความผูกพันในระยะยาว ก็ต้องหาวิธีทีจะส่งผลต่อความรู้สึกทางใจ มากกว่าทางกายภาพ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ว่านั้นก็คือ “โค้ชชิ่ง” เราสามารถใช้เป็นเครื่องมือนี้ สร้างความผูกพันทางใจให้กับพนักงานในระยะยาวได้ โดยหัวหน้าจะเป็นผู้เริ่มสร้างความผูกพันนี้กับลูกน้องของตัวเอง ต้องทำให้ลูกน้องมีความรู้สึกผูกพันต่อตัวหัวหน้า เพราะถ้าลูกน้องผูกพันกับหัวหน้า ลูกน้องจะยินดีทุ่มเทเพื่อให้ผลงานออกมามีคุณภาพ และมีความสุขกับงานที่ทำ จนไม่อยากไปไหน เพราะอยู่ที่นี่มีความสุขดีอยู่แล้ว

 

ดังนั้นถ้าลูกน้องผูกพันกับหัวหน้าก็แปลว่าลูกน้องผูกพันกับองค์กร  ทีนี้ ถ้าถามว่าโค้ชชิ่งช่วยให้พนักงานรู้สึกผูกพันต่อหัวหน้าได้ยังไง คำตอบคือ

 

  1. รูปแบบของการโค้ช จะมีลักษณะเป็นการสื่อสารสองทาง โดยหัวหน้าจะทำหน้าที่ฟังและถามเพื่อชวนให้ลูกน้องคิด ไม่ได้เป็นฝ่ายพูดหรือสั่งการแบบม้วนเดียวจบ ส่วนลูกน้องก็จะมีโอกาสได้พูดจากมุมมองของตัวเอง และคิดหาทางออกด้วยตัวเอง ดังนั้นการสื่อสารแบบนี้ จะทำให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการสนทนา ไม่เหมือนกับการโดนเรียกไปรับคำสั่ง การโค้ชจึงส่งผลต่อความรู้สึกผูกพันของพนักงาน

 

  1. กระบวนการโค้ช จะทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า แม้ในช่วงแรกของการโค้ชอาจพบกับความยากลำบาก ที่ต้องคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเองจากการตั้งคำถามชวนคิดของหัวหน้า แต่เมื่อได้รับการโค้ชไปเรื่อย ๆ ลูกน้องจะเริ่มคุ้นเคยกับการฝึกคิด และจะผลิตความคิดได้มากและเร็วขึ้น จนถึงระดับที่ตนเองรู้สึกพอใจกับความคิดของตัวเอง และจะตระหนักว่าตัวเองมีคุณค่า โดยเฉพาะเมื่อได้โค้ชอยู่กับหัวหน้าที่ค่อยสนับสนุนให้ตัวเองแสดงความสามารถออกมา ดังนั้นถ้าอยู่ที่ไหนแล้วตัวเองรู้สึกมีคุณค่า ตัวเองก็ไปอยากจากไปที่ไหนอีก

 

  1. ในขณะที่หัวหน้าโค้ชลูกน้อง ถือว่าเป็นช่วงที่หัวหน้าและลูกน้องได้มีโอกาสมาใช้เวลาด้วยกันเป็นการส่วนตัว บรรยากาศในการโค้ชจะแตกต่างจากการประชุม มอบหมายงาน หรือสั่งงานหัวหน้าจะฟังและถามมากกว่าพูด หัวหน้าจะไม่เอาความคิดของตัวเองไปครอบงำความคิดของลูกน้อง ดังนั้นในขณะโค้ช จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างกัน ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้แหละครับ ถ้าทำอย่างต่อเนื่องกับลูกน้องทุกคน ลูกน้องก็จะรู้สึกมีความสุขและผูกพันกับหัวหน้า และอยากทำงานอยู่ที่นี่อย่างทุ่มเท

Ready to start your Leadership Journey?