บทสรุปงาน "A New Leadership for a New World"
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป ได้จัดงาน “A New Leadership for a New World” ซึ่งได้เปิดตัวเครื่องมือและตัวชี้วัดสุขภาพผู้นำองค์กรไทย เพื่อพาองค์กรไทยไปสู่เวทีโลก
การก้าวสู่ปีที่ 15 ของบริษัท สลิงชอท กรุ๊ป ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญกับความฝันที่ยิ่งใหญ่ คือการช่วยพาผู้นำองค์กรไทย ไปสู่ระดับมาตรฐานโลก คำถามจึงเกิดขึ้นว่าผู้นำองค์กรไทยจะเก่งในระดับสากลได้นั้นต้องดูจากอะไร และมีอะไรที่เป็นตัวชี้วัดหรือไม่
เมื่อเป้าหมายคือต้องการช่วยพัฒนาผู้นำองค์กรไทย ให้พาองค์กรไปสู่ระดับโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำองค์กรต้องรู้สุขภาพการนำองค์กรของตนเอง เพื่อที่จะได้ปรับพฤติกรรม เสริมทักษะได้ทันกับโลกและโอกาสที่กำลังจะไปหา
ดร. สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป กล่าวว่า “ในยุคที่โลกหมุนเร็ว เราเชื่อว่าการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้การพัฒนาเป็นอย่างถูกจุดได้ผลลัพธ์ กว่า 15 ปีที่เราสั่งสมข้อมูลการพัฒนาผู้นำไทย ถึงเวลาที่เราต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้มาเป็นตัวช่วยเร่งการพัฒนาคนไทยไปสู่เวทีโลก”
กว่า 2 ปีที่บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป ตั้งทีมศึกษาคุณลักษณะสำคัญของผู้นำองค์กรไทย ในการพาองค์กรไทยไปสู่ระดับโลก โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมมากว่า 8 ปี จากผู้ตอบแบบประเมิน 9,120 คน ในการประเมินศักยภาพความเป็นผู้นำไทย ของผู้นำองค์กรทั้งสิ้น 958 คน อีกทั้งมีการเปรียบเทียบผลการศึกษากับ 38 สถาบันชั้นนำทั่วโลก ประกอบด้วย 15 สถาบันในสหรัฐอเมริกา 6 สถาบันในยุโรป 17 สถาบันในเอเชียและออสเตรเลีย และเปรียบเทียบกับ 21 องค์กรชั้นนำในประเทศไทย
พบคุณลักษณะหลัก (Persona) ของผู้นำองค์กรไทย 6 Persona ที่ได้ถูกดึงออกมาว่าเป็นคุณลักษณะเฉพาะสำหรับ “คนไทย” กับการก้าวสู่ “เวทีโลก”
นักสำรวจความแปลกใหม่ (Uncharted Explorer) ผู้นำที่มองเห็นโอกาส กล้าเสี่ยงที่จะทำอะไรใหม่ ๆ เพื่อพัฒนางานและเสริมสร้างธุรกิจ สามารถรับมือกับความผันผวน ความไม่แน่นอน ความคลุมเคลือ และ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น อีกทั้งยังต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองในเรื่องส่วนตัวด้วย
นักรบผู้พิชิตความสำเร็จ (Success Warrior) ผู้นำต้องผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงและคู่แข่งมากมายที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้วยการมองหาและสร้างความแตกต่างเพื่อให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ได้ เพื่อพาองค์กรให้อยู่รอดและเติบโต
นักสื่อสารผู้เข้าใจคน (Empathic Communicator) ผู้นำต้องมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานและเป็นตัวอย่างที่ดี สามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ ทีมงานเข้าใจและเดินไปในทิศทางเดียวกัน ผ่านการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาและเปิดใจรับฟัง ความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
นักผนึกพลัง (Synergistic Winner) ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายกระจายงานและกระจายอำนาจในการตัดสินใจ รวมทั้งสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับบุคลากรภายในและผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ที่สำคัญต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากอำนาจและการเมืองภายในองค์กร อย่างถูกต้องให้เกิดประสิทธิผลเต็มที่
นักส่งเสริมความหลากหลาย (Diversity Promoter) ทักษะสำคัญอีกประการสำหรับผู้นำที่จะได้รับการยอมรับระดับโลก คือต้องสามารถมองเห็นภาพใหญ่ เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นจากมุมมองระดับสากล และรู้จักใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่นับวันจะทำให้โลกค่อยๆ เล็กลง นอกจากนั้นยังต้องให้ความสำคัญและให้คุณค่ากับความแตกต่างที่หลายหลาย รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงบุคลากรภายในองค์กรให้เข้าใจโลก ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาได้อีกด้วย
ผู้ถือไฟนำทาง (Torch Bearer) สุดท้ายแต่ไม่ใช่สำคัญน้อยสุด ผู้นำต้องทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้ถือถือไฟฉายหรือคบเพลิงนำทาง ต้องเป็นผู้ที่มีสายตายาวไกล สามารถมองเห็นและคาดเดาแนวโน้มต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างชัดเจนแม่นยำ และต้องเตรียมพร้อมด้วยการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ๆ ไว้ให้ กับองค์กร รวมทั้งต้องสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความสำเร็จในระยะยาวอย่างยั่งยืน และต้อง ถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีไว้กับองค์กร เพื่อไม่ให้สิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้สูญหายไปเมื่อผู้นำไม่อยู่แล้ว
จากการศึกษาพบคุณลักษณะที่เด่นที่สุดของผู้นำองค์กรไทยคือ นักสำรวจความแปลกใหม่ (Uncharted Explorer) ซึ่งเป็นเรื่องการมองเห็นโอกาส กล้าเสี่ยงที่จะทำอะไรใหม่ ๆ ส่วนคุณลักษณะที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ นักผนึกพลัง (Synergistic Winer) ซึ่งเป็นการตอบย้ำความจริงที่เกิดขึ้นว่า ได้เวลาที่เราจะต้องสร้างทีมที่เก่งที่สุดในโลกบ้างแล้ว
นอกจากนี้การศึกษาพบว่า การที่ผู้นำองค์กรจะพาองค์กรไทยไปสู่ระดับสากลได้นั้น พบมีการตั้งหมายในการพัฒนาศักยภาพผู้นำไทยต่ำเกินไป ซึ่งปัจจุบันดัชนี Leadership Effectiveness ของผู้นำไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.73 จากคะแนนเต็ม 5 ดังนั้นจึงถึงเวลาที่เราต้องพัฒนาตนเองเพื่อขึ้นไปอยู่ในระดับท็อป 10 ของประเทศไทยและของโลก
ซึ่งทั้งนี้ สลิงชอท กรุ๊ป ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ เปิดตัวเครื่องมือและดัชนีชี้วัดศักยภาพความเป็นผู้นำ โดยผู้นำแต่ละคนสามารถได้รับข้อมูลส่วนตัวที่จะได้ทราบว่าตนเองเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับท็อป 10 ของไทยและของโลก
ดร. สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ ย้ำว่า “วันนี้ผู้นำไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก ที่ผ่านมาเราพัฒนาคนตามตำราตะวันตก เรามักคุ้นเคยกับการประเมินผ่านแบบประเมิน 360 องศา โดยใช้คะแนนเฉลี่ยมาเป็นตัวกำหนดแผนการพัฒนา แต่วันนี้โลกเปลี่ยนไป คนไทยสามารถก้าวสู่เวทีโลกได้ในแบบของเรา ในวันนี้เรามีข้อมูลพร้อมที่เอามาใช้ ประโยชน์ ซึ่งในยุคที่ชนะกันด้วยข้อมูลนี้ เรามั่นใจว่าจากฐานข้อมูลผู้นำไทยกว่าแสนคน ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะมากว่า 15 ปี จะช่วยเร่งให้ผู้นำไทยพัฒนาศักยภาพการนำองค์กร นำทีม ไปสู่เวทีโลก”
นอกจากนี้ในงานยังได้รับเกียรติจากผู้นำองค์กรชั้นนำในเมืองไทยมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิธีการนำองค์กรตามคุณลักษณะทั้ง 6 ประการด้านบน อันได้แก่
- คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO หญิงแห่ง Garena Thailand ยูนิคอร์นแห่ง SEA กับเรื่องราวการบริหารธุรกิจรูปแบบใหม่และการนำทีมหลายพันชีวิต ในบทบาทผู้นำแบบนักสำรวจและนักรบผู้พิชิตความสำเร็จ
- คุณอโนทัย เวทยากร Vice President, DELL EMC (Emerging Market) ผู้บริหารมืออาชีพคนไทยคนแรกที่ขึ้นมาบริหาร 28 ประเทศ ในบทบาทผู้นำผนึกพลังและนักสื่อสารผู้เข้าใจคน
- คุณณรงค์ฤทธิ์ กาละพุฒ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท N Health ในเครือ BDMS กับบทบาทนักส่งเสริมความหลากหลายของคนต่างประสบการณ์ต่างเจนและผู้ถือไฟนำทางสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความยั่งยืน หากท่านอยากรู้ว่าตนเองมีคุณลักษณะเด่นแบบใด สามารถลองทำแบบทดสอบง่ายๆได้ ที่นี่