บทเรียนราคาแพงของ Lazada

บทเรียนราคาแพงของ Lazada
 
ผมคิดว่า ณ เวลานี้ คงไม่มีใครที่ไม่ได้ติดตามข่าวของ Lazada แพลตฟอร์มการขายของออนไลน์ขนาดใหญ่ที่ผู้บริโภคนิยมเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน
 
จุดเริ่มของเรื่องอยู่ที่ว่า Lazada ได้ปล่อยคลิปโฆษณาออกมาชึ้นหนึ่ง ซึ่งมีผลกระทบต่อความรู้สึกในวงกว้าง เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม
 
เรื่องราวลุกลามบานปลายถึงขนาดที่ ผบ.ทบ. สั่งแบน Lazada ห้ามกำลังพลในหน่วยงานทหารทั่วประเทศสั่งของและเข้ามาส่งในบริเวณสถานที่ของทางราชการ จากนั้นทัพเรือ, ทัพอากาศ, กองทัพไทย และกระทรวง DE ต่างก็พาเหรดตามกันออกมาติดๆ
 
จริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น ? เหมาะสมหรือไม่ ? ใครทำถูกทำผิดอย่างไร ? ขออนุญาตไม่ก้าวล่วง
 
แต่อยากชวนมองในอีกมุม ถึงแนวทางในการแก้ไขเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นกับองค์กร ซึ่งไม่แน่นะ วันหนึ่งอาจเกิดกับเรา ก็ได้
 
3 ส่ิงที่ควรทำทันที เมื่อเกิดกระแสตีกลับหรือเกิดวิกฤตศรัทธา
 
1. ขอโทษ – การพยายามอธิบายเหตุผล เป็นวิธีการที่ไม่ควรทำในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะเมื่อปัญหาเกิดขึ้น คนตัดสินด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล เหตุผลดีๆ อาจถูกมองว่าเป็นคำแก้ตัวที่ไม่ได้เรื่อง ส่ิงที่ควรทำมากที่สุด ณ เวลานั้น ไม่ใช่การนิ่งเฉย แต่เป็นการกล่าวคำขอโทษ ทำหลายๆ ครั้ง ในหลากหลายช่องทาง
 
2. แก้ไข – รีบปรับปรุงแก้ไข ไม่ว่าจะถูกหรือผิด เหมาะสมหรือไม่ ไม่ใช่เวลาที่เหตุผลจะทำงาน รับกลับมาแก้ไข ปรับปรุง ปรับเปลี่ยน แสดงให้เห็นว่าองค์กรพร้อมรับฟังและแก้ปัญหา
 
3. รับปากว่าจะไม่ทำอีก – คนไทยจิตใจดี ขี้สงสาร โบราณจึงมีคำสอนว่า “คนล้มอย่าข้าม” เมื่อกล่าวคำขอโทษและปรับปรุงแก้ไขแล้ว อย่าลืมออกมาสื่อสารอีกรอบ พูดให้ชัดถ้อยชัดคำว่า จะไม่ทำอีกและจะระมัดระวังให้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
 
แม้อารมณ์และความโกรธแค้นอาจไม่ได้จางหายไปทั้งหมด แต่ก็เชื่อว่าจะช่วยบรรเทาและทุเลาปัญหาลงได้มาก
 
อย่าลืมกดติดตาม LINE OA : Leadership Hacks สำหรับข่าวสารและอาหารสมองดี
Tags:
#Leadership Hacks

Ready to start your Leadership Journey?