5 Thailand Leadership Trends 2023

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าสำหรับผู้นำองค์กรทั้งหลายต้องเผชิญกับความไม่คาดฝัน และคาดหวังว่าปี 2566 นี้จะเป็นปีที่ดีขึ้น  ภายใต้เงื่อนไขที่ทุกคนต่างรู้ว่าการทำงานต้องเปลี่ยนแปลงไปและจำเป็นต้องอาศัยแนวทางใหม่ในการเป็นผู้นำทั่วทุกระดับ แล้วเทรนด์ความเป็นผู้นำแบบไหนที่ผู้นำทุกระดับในองค์กรควรรู้เพื่อพร้อมสำหรับก้าวไปข้างหน้า

บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป ทำการสำรวจผู้นำและบุคลากรในองค์กรไทยจำนวน 432 คน ครอบคลุมทั้งองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน และองค์กรไม่แสวงหากำไร พบ 5 เทรนด์ผู้นำองค์กรไทยในปี​ที่ผ่านมา

  1. รู้อนาคต (Futuristic Leader) ในโลกการทำงานที่อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน ผู้นำองค์กรจะต้องวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยความเข้าใจอดีตอย่างถ่องแท้ รู้จริงในเรื่องที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ตัดสินใจอนาคตโดยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง โดยสามารถจัดการความคลุมเครือ เพื่อเดินทางไปสู่ความสำเร็จแห่งอนาคต และสามารถบริหารจัดการอารมณ์ตนเองได้ดีเมื่อต้องเชิญกับการบริหารในภาวะวิกฤต โดยสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
  2. รู้คุณค่าองค์กร (Purpose Driven Leader) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้นำที่มีหลักการและทำงานด้วยความเชื่อ คุณค่า ที่ชัดเจนจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความมั่นใจให้ผู้คนรอบตัว ผู้นำจึงต้องรู้จักจุดยืน เป้าหมาย จุดแข็ง จุดอ่อนของตนเอง ทีมและองค์กร พร้อมหาวิธีพัฒนาผ่านแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ นำมาปรับใช้เพื่อไปสู่เป้าหมายหลักได้ พร้อมกระตุ้นให้ทีมตั้งคำถามต่อเป้าหมาย คุณค่าของตนเอง และส่งเสริมทำให้ทีมงานเกิดความรู้สึกว่างานที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่มีคุณค่า เห็นคุณค่า และภูมิใจในความสามารถของตนเอง รวมถึงสื่อสารให้ทราบถึงความคาดหวัง เป้าหมายร่วม และคุณค่าที่องค์กรมอบให้ผู้คน
  3. รู้คุณค่าทีม (Collaborative Leader) โลกที่มันซับซ้อนขึ้น ผู้นำต้องเปิดมุมมองว่าการไปสู่ความสำเร็จ ไม่ใช่เพียงการนำทีมของตนเองไปสู่ความสำเร็จขององค์กรตนเองเท่านั้น แต่ต้องมองภาพทีมออกไปให้กว้างขึ้น ผู้นำต้องจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนการทำงานของทีมที่หลากหลายทางความคิดและวัฒนธรรม สร้างความรู้สึกความเป็นทีมทั้งภายในและภายนอกองค์กร สนับสนุนให้เกิดความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศทางธุรกิจ (business ecosystem) อย่างปลอดภัย มองปัญหาและทางออกทั้งระดับบุคคล องค์กร สังคมทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง
  4. รู้คุณค่าของความหลากหลาย (Empowering Leader) มีงานวิจัยระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สนับสนุนว่าองค์กรที่จริงจังกับสร้างความหลากหลายในองค์กร สร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าองค์กรที่ไม่ได้ใส่ใจ ดังนั้นผู้นำต้องเข้าใจความหลากหลาย กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างอิสระ และสร้างความร่วมไม้ร่วมมือให้เกิดขึ้นจากทีมที่มีความหลากหลายเพื่อเอาชนะความท้าทายในการทำงาน ให้อำนาจการตัดสินใจ การสนับสนุนและเปิดโอกาสแก่ทีมงานแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในงานที่พวกเขารับผิดชอบโดยคำนึงถึงความสามารถและความแตกต่างของแต่ละบุคคล รวมถึงสร้างบรรยากาศ ความเชื่อมั่น และขวัญกำลังใจให้กับทีมให้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ริเริ่มการเรียนรู้สิ่งใหม่ เพื่อหาแนวทางใหม่ในแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพไปข้างหน้าร่วมกัน
  5. รู้คุณค่าของชีวิต (Wellness Leader) องค์กรอนามัยโลกประเมินว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี วันนี้ผู้นำองค์กรจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริม wellness ในองค์กร เริ่มจากแสดงออกโดยวาจาและการกระทำทั้งต่อหน้าและลับหลังที่สอดคล้องกับค่านิยมที่ดีขององค์กร ตัดสินใจโดยยืนหยัดบนความยุติธรรม ความถูกต้อง ประโยชน์ส่วนรวม ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจที่เหนือกว่าทั้งภายในและภายนอกองค์กร สร้างวัฒนธรรมและสนับสนุนความสมดุลทั้งเรื่องงาน ชีวิต สุขภาพและให้ความช่วยเหลือทีมงานอย่างสม่ำเสมอเท่าเทียมกัน

    ท่านผู้อ่านสามารถ Download งานวิจัยได้ที่นี่ https://bit.ly/3lK4UoQ

Ready to start your Leadership Journey?