6 กลยุทธ์ของการเป็นผู้นำ ท่ามกลางความไม่แน่นอน

6 กลยุทธ์ของการเป็นผู้นำ ท่ามกลางความไม่แน่นอน

 โลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไป แต่วิธีการคิดของมนุษย์ไม่ค่อยได้เปลี่ยนตาม

 การจะต่อสู้และรับมือกับความไม่แน่นอน จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่แยบคาย และนี่คือ 6 ข้อแนะนำสำหรับผู้นำยุคนี้

  1.  จงยอมรับว่าความแน่นอนคือความไม่เเน่นอนร่างกายและสมองของมนุษย์ถูกออกแบบมาให้รู้สึกตื่นตัว เมื่อต้องพบเจอกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นชิน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไม คนส่วนใหญ่จึงหลีกเลียงที่จะเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเราทำความเข้าใจว่าความแน่นอนคือความไม่แน่นอนการตัดสินใจเผชิญหน้ากับมัน จะทำให้เรามีโอกาสเรียนรู้และเติบโตได้มากกว่า Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟ กล่าวไว้ว่า ผู้นำควรเปลี่ยนความคิดจากรู้แล้ว” (Know it all) มาเป็นเรียนรู้” (Learn it all)
  2.  แยกแยะความแตกต่างระหว่างความยุ่งยาก” (Complicated) กับความซับซ้อน (Complex) ออกจากกันคำสองคำนี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับภาษี มีศัพท์แสงทางเทคนิคเยอะและเข้าใจยาก แต่ก็มีคำเฉลยหรือคำตอบที่ถูกต้อง หากเราแบ่งแยกเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แล้วนำไปปรึกษาผู้รู้ ก็จะได้คำตอบที่ถูกต้องและชัดเจน (เป็นปัญหาที่ Complicated แต่ไม่ Complex) ในขณะที่ปัญหาโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นที่ซับซ้อนมาก (Complex) ไม่มีคำตอบถูกผิดหรือเฉลยที่ชัดเจนว่าควรทำอย่างไร ต้องอาศัยการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อประสบปัญหา ผู้นำหลายคนแยกไม่ออก เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันซับซ้อน (Complex) แต่อันที่จริงแล้วมันแค่ยุ่งยาก (Complicated) เท่านั้นเอง ถ้าค่อยๆ แตกประเด็นออกมา ก็จะแก้ปัญหาได้
  3.  ปล่อยวาง ไม่มีสิ่งใดๆ ในโลกสมบูรณ์แบบการตั้งเป้าว่าทุกอย่างที่ทำต้องสมบูรณ์แบบ เป็นสิ่งที่บรรลุได้ยาก ดังนั้นการยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและพัฒนาแก้ไข ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จะส่งผลดีกว่า ผลสำรวจพบว่าเมื่อนำคนหลายๆ คนมาคุยกัน พวกเขาจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้ข้อคิดดีๆ จากความผิดพลาดของทั้งตนเองและผู้อื่นมากกว่าการเรียนรู้จากความสำเร็จเสียอีก
  4.  อย่าทำทุกอย่างง่ายเกินไปและต้องการบทสรุปในการแก้ปัญหาที่รวดเร็วบางทีการเร่งรีบแก้ปัญหาด้วยความรู้สึกว่าทุกอย่างแก้ได้ จงรีบลงมือทำ อาจนำไปสู่ความหายนะในอนาคต เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอาจแตกต่างและซับซ้อนกว่าสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้นผู้นำต้องเรียนรู้ที่จะสร้างสมดุลระหว่างความต้องการในการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว กับการทำความเข้าใจในปัญหาและอคติที่ตนเองมีต่อปัญหาเหล่านั้น เสียก่อน
  5.  อย่าแก้ปัญหาคนเดียวผู้นำหลายคนเข้าใจว่าหน้าที่ของตนคือการแก้ปัญหา จึงแบกรับภาระนั้นไว้บนบ่าของตนเองแต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อความซับซ้อนและปริมาณงานเพิ่มมากขึ้น ความพยายามที่จะแก้ปัญหาและตัดสินใจเพียงลำพัง อาจนำมาซึ่งความเสียหายในระยะยาว ผลการสำรวจแนวทางการทำงานของ CEO ในหลากหลายองค์กรพบว่า การขอความช่วยเหลือจากคนที่คิดต่าง จะช่วยทำให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
  6.  มองในมุมกว้างประสบการณ์ทำให้รู้ลึกแต่สิ่งที่มาพร้อมกันคือรู้แคบผู้นำหลายคนติดอยู่กับกรอบความคิดและวิธีการมองปัญหาด้วยมุมเดิมๆ หนังสือ The Practice of Adaptive Leadership แนะนำว่าผู้นำควรหาโอกาสวางมือจากงานประจำที่ต้องทำทุกวัน (Routine Tasks) แล้วไปยืนดูปัญหาที่เกิดขึ้นจากมุมมองอื่น คล้ายขึ้นชั้น 2 แล้วมองจากระเบียงลงมา คนที่อยู่นอกเกมอาจเห็นความเชื่อโยงและช่องว่างได้ชัดเจนกว่า

อย่าลืมกดติดตาม LINE OA : Leadership Hacks สำหรับข่าวสารและอาหารสมองดี

Tags:
#Leadership Hacks

Ready to start your Leadership Journey?