Protect ESOP : เพราะคนเก่งไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน แต่เขาทำเพื่อเป้าหมายบางอย่าง คุณจะทำยังไงให้คนเก่งที่สุดอยากมาทำงานด้วย คนพวกนี้รายได้สูงมาก ไปจ้างมาก็ไม่ไหวหรอก คุณต้องแบ่งเค้กคือยอมให้หุ้นเขาไปเลย เช่น เงินเดือนเขาสามแสนคุณจ่ายได้แสนห้าที่เหลือให้เป็นหุ้น เขาอาจจะอยากมาทำนะ
3.Start a Start-up : เลือก Business Model ที่สามารถรองรับลูกค้าเป็นล้านๆโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน เช่น Marketplace, Social Media, Gaming, Software as a service(SAAS), Tokenomics เป็นต้น
4.Key metrics to measure มี 2 อย่างคือ
CAC : Customer Acquisition Cost ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้า 1 ราย
LTV : Lifetime Value จำนวนเงินที่ลูกค้าใช้จ่ายกับธุรกิจของคุณ
คุณต้องทำให้ LTV มากกว่า CAC
5.What really is the job of a CEO ?
หน้าที่ของ CEO คือการทำเรื่องยากๆ เช่น การไล่ออก เป็นต้น เพราะการจ้างมีต้นทุนนะ คนที่ไม่ทำงาน ไม่ได้ทำอะไร ก็ต้องกล้าที่จะไล่ออกเพื่อบรรลุเป้าหมายของธุรกิจ
6.The Importance of Brandการทำมาร์เกตติ้งคือ ทำแล้วเห็นผลเลย เช่น จ้าง Influencer มีเงินก็ทำได้ ทุกคนทำได้ แต่แบรนด์ดิ้ง คือความลำเอียง มันเป็นความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อเรา บางแบรนด์ทำแบรนดิ้งมาหลายปีไม่ติดตลาดสักที แต่พอติดแล้วติดเลย เพราะเป็นความรู้สึก เช่น Kitkat ขนมแบบนี้ใครๆ ก็ทำได้ แต่ต้องเป็นคิทแคทเพราะ “คิดจะพักคิดถึงคิทแคท”, Loreal เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูง เพราะมันคือ “คุณค่าที่คุณคู่ควร”, ไนกี้ ไม่เคยบอกว่าของตัวเองดี แต่ขายได้ราคาแพงเพราะขายความรู้สึก เพราะมันคือ Nike, Fast Work คือการบอกให้ทุกคนกล้าฝัน เพราะผมเชื่อว่าคนไทยเก่งและมีความสามารถ
ช่วงที่สองเสวนาเรื่อง The Entrepreneur Spirit for Success
แขกรับเชิญคือคุณซีเค เจิง CEO จาก Fast Work, คุณกุลวดี โอฬารพันธุ์สกุล – Chief Leadership Officer จาก สลิงชอท กรุ๊ป คุณณัฐวุฒิ เกียรติไชยากร Chief Business Resources จากสยามพิวรรธน์
11 ข้อคิดจากการเสวนาที่น่าสนใจ
1. Entrepreneurship คือเด็กดื้อคนหนึ่ง ที่ไม่สนว่ากฎเกณฑ์คืออะไรหรือมีเงื่อนไขอะไร ไม่สนว่ามีอุปสรรคขนาดไหน จิตวิญญาณของผู้ประกอบการคือต้องสร้างฝันให้เป็นจริงให้ได้
2. ลักษณะของคนที่มี Entrepreneurship ประกอบด้วย 3P
Passion : รู้ว่าตัวเองชอบอะไร เก่งอะไร ถนัดอะไร
Purpose : เปลี่ยนความชอบให้เป็นเป้าหมาย เช่น วางแผนให้ตัวเองว่าอีกสามปี ห้าปีข้างหน้าจะไปถึงจุดไหน
Performance : กล้าลงมือทำ กล้าลงทุนด้วยเวลาของตัวเองเพื่อพิชิตเป้าหมาย
3. Entrepreneurship ไม่สามารถทำได้คนเดียว ต้องมีทีมที่ประกอบไปด้วย
Passion – ไม่ใช่คนที่ทำงานไปวันๆ ต้องทำงานด้วยใจ
Accountability – มีความรับผิดชอบทำงานให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่แค่เสร็จ
Leadership – ต้องมีภาวะผู้นำ
Vision – ต้องมีวิสัยทัศน์และมองการไกลอย่างยั่งยืน
4. จิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Spirit) เกิดมาจากความรู้สึกว่าตัวเองสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ พวกเขาไม่ชอบเห็นการเปลี่ยนแปลงแต่พวกเขาคือ “ความเปลี่ยนแปลง” มักฝันใหญ่ก่อนแล้วค่อยกลับมาคิดว่าจะทำยังไง
5. คนตัวเล็กๆ ก็สามารถเป็นผู้ประกอบการได้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่เริ่มเพราะคิดว่าไม่มีเงิน อันที่จริงเราไม่จำเป็นต้องเริ่มวันนี้นะ แต่ขอให้มองไกลๆ มองกว้างๆ ปีที่ห้าปีที่หกค่อยเริ่มก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องเริ่มทันทีคือ “เริ่มเก็บเงินวันนี้” ผ่านไป 5-6 ปีมีเงินก้อนนึงก็เริ่มได้ละ ที่สำคัญต้องเริ่มธุรกิจที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่ธุรกิจที่เราอยากทำอย่างเดียว ธุรกิจที่ดีต้องช่วยคนแล้วสุดท้ายเขาจะกลับมาช่วยเราด้วยการ เป็นลูกค้า
6. การสร้างจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการสำหรับคนทำงาน เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยจินตนาการงานของคุณให้เหมือนคนที่กำลังทำธุรกิจอยู่ เช่น ถ้าทำงาน HR คุณคือบริษัท HR แล้วใครคือลูกค้าของคุณ? คนที่เราส่งงานให้ไม่ใช่หัวหน้า ไม่ใช่เพื่อนร่วมงาน แต่ให้มองว่าเขาเป็นลูกค้า งานของคุณก็จะไม่ใช่แค่ทำให้เสร็จ แต่มองความสำเร็จเป็นที่ตั้ง ถ้าคุณแค่ทำตามหน้าที่ไปวันๆ มันก็ไม่ต่าง แต่ถ้าทำงานด้วย Entrepreneur spirit งานจะแตกต่างทันที แล้วหลังจากนั้น รีวอร์ดจะตามมาเอง
7. วิธีการสร้าง Entrepreneurial ในองค์กร ให้เริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่พนักงานเข้ามา จงให้พวกเขาได้ตัดสินใจ หน้าที่ของผู้บริหารคือการหาคนที่เก่งกว่าตัวเองมาทำงาน ตัวเองจะได้พุ่งไปข้างหน้าแบบไม่ต้องพะวักพะวง ไม่ใช่ต้องมาห่วงนั่นห่วงนี้อีก
8. ทักษะสำคัญสำหรับการเป็น Entrepreneur ในยุคอนาคต ได้แก่
Analytic Thinking : การคิดวิเคราะห์
Creative Thinking : ความคิดสร้างสรรค์
AI : การใช้ AI ในการทำงาน
Leadership skill : ทำยังไงให้เป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำตาม
Curiosity : ถามและสงสัยตลอดเวลาเพื่อเราจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ